สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดเลย
 เข้าสู่ระบบ - สมัครสมาชิก  

ประวัติจังหวัดเลย

 คำขวัญประจำจังหวัดเลย

 เมืองแห่งทะเลภูเขา สุดหนาวในสยาม

ตราประจำจังหวัด

ความหมายของตราประจำจังหวัด

             ภาพเจดีย์ หมายถึง พระธาตุศรีสองรักเป็นอนุสรณ์การปักปันเขตแดนระหว่างกรุงศรีสันตนาคนหุตกับกรุงศรีอยุธยา ในรัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์

ประวัติ

เมืองเลย ได้ชื่อว่า "เมืองแห่งทะเลภูเขา สุดหนาวในสยาม" มีหลักฐานเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาว่า ก่อตั้งโดยชนเผ่าไทยที่สืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษ ที่ก่อตั้งอาณาจักรโยนก โดยพ่อขุนบางกลางหาวและพ่อขุนผาเมือง (เชื่อถือกันว่าเป็นเชื้อสายราชวงศ์สิงหนวัติ) ได้มีผู้คนอพยพจากอาณาจักรโยนก ที่ล่มสลายแล้ว ผ่านดินแดนลานช้างข้ามลำน้ำเหืองขึ้นไปทางฝั่งขวาของลำน้ำหมันถึงบริเวณที่ราบพ่อขุนผาเมืองได้ตั้งบ้านด่านขวา (ปัจจุบั้นอยู่ในบริเวณชายเนินนาด่านขวา ซึ่งมีซากวัดเก่าอยู่ในแปลงนาของเอกชน ระหว่างหมู่บ้านหัวแหลมกับหมู่บ้านนาเบี้ย อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ) ส่วนพ่อขุนบางกลางหาวได้แบ่งไพร่พลข้ามลำน้ำหมันไปทางฝั่งซ้ายสร้างบ้านด่านซ้าย (สันนิษฐานว่าอยู่ในบริเวณหมู่บ้านเก่า อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ในปัจจุบัน) ต่อมาจึงได้อบยพเลื่อนขึ้นไปตามลำน้ำ ไปสร้างบ้านหนองคู และได้นำนามหมู่บ้านด่านซ้าย มาขนานนามหมู่บ้านหนองคูใหม่เป็น " เมืองด่านซ้าย " อพยพไปอยู่ที่เมืองบางยาง ในที่สุดโดยมีพ่อขุนผาเมืองอพยพผู้คนติดตามไปตั้งเมืองราด (เชื่อว่าเป็นเมืองศรีเทพ อยู่ในท้องที่อำเภอศรีเทพ และอำเภอ วิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์) และตั้งเมืองด่านซ้ายเป็นเมืองหน้าด่านทางตะวันออกของเมืองบางยาง
     นอกจากนี้แล้ว ยังมีชาวโยนกอีกกลุ่มหนึ่งได้อพยพมาตั้งบ้านเรือน ระหว่างชายแดนตอนใต้ของอาณาเขตลานนาไทย ต่อแดนลานช้างอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่งก่อนที่จะอพยพหนีภัยสงคราม ข้ามลำน้ำเหืองมาตั้งเมืองเซไลขึ้น (สันนิษฐานว่าอยู่ในท้องที่ หมู่บ้านทรายขาว ตำบลทรายขาว อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย) จากหลักฐานในสมุดข่อยที่มีการค้นพบเมืองเซไล อยู่ด้วยความ สงบร่วมเย็นมา จนกระทั่งถึงสมัยเจ้าเมืองคนที่ 5 เ กิดทุพภิกขภัย ข้าวยากหมากแพง ฝนฟ้าไม่ตก จึงได้พาผู้คนอพยพ ไปตามลำแม่น้ำเซไล ถึงบริเวณที่ราบระหว่างปากลำห้วยไหลตกแม่เซไล จึงได้ตั้งบ้านเรือนขึ้นขนานนามว่า " บ้านแห่ " (บ้านแฮ่) ส่วนลำห้วยให้ชื่อว่า "ห้วยหมาน" นปี พ.ศ. 2396 พระบาทสมเด็นพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงพิจารณาเห็นว่าหมู่บ้านแฮ่ซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่ง ห้วยน้ำหมาน และอยู่ใกล้กับแม่น้ำเลย มีผู้คนเพิ่มมากขึ้น สมควรจะได้ตั้งเป็นเมือง เพื่อประโยชน์ในการปกครองอย่างใกล้ชิดจึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดตั้งเป็นเมืองเรียกชื่อตามนามของแม่น้ำเลยว่า "เมืองเลย" ต่อมา พ.ศ. 2440 ได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณะปกครองพื้นที่ รศ.116 แบ่งการปกครองเมืองเลย ออกเป็น 4 อำเภอ อำเภอที่ตั้งเมืองเรียกชื่อว่า "อำเภอกุดป่อง" ต่อมา พ.ศ. 2442-2449 ได้เปลี่ยนชื่อเมืองเลยเป็น "บริเวณลำน้ำเลย" พ.ศ. 2449 - 2540 เปลี่ยนชื่อบริเวณลำน้ำเลยเป็นบริเวณลำน้ำเหือง และใน พ.ศ. 2450 ได้มีประกาศของกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2450 ยกเลิกบริเวณลำน้ำเหือง ใหคงเหลือไว้เฉพาะ "เมืองเลย" โดยให้เปลี่ยนชื่อำเภอกุดป่อง
เป็นอำเภอเมืองเลย

 

ทำเลที่ตั้ง

           เลย เป็นจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือค่อนไปทางภาคเหนือสถานที่ตั้งตัวเมืองอยู่ท่ามกลางภูเขาน้อยใหญ่ดินฟ้าอากาศคล้ายกับภาคเหนือคือ มีอากาศหนาวเย็น มีหมอกปกคลุมอยู่เสมอเป็นจังหวัดเดียวในประเทศที่เคยหนาวจัดจนอุณหภูมิลดลงถึงศูนย์องศาเซลเซียส

 เลยอยู่ห่างจากกรุงเทพฯประมาณ 520 กิโลเมตร มีพื้นที่ 11,424.6 ตารางกิโลเมตร

Advertising Zone    Close


Online: 1 Visits: 12,316 Today: 5 PageView/Month: 48

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...